ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับ การพัฒนาโปรแกรม Android
ความรู้เบื้องต้น
เกี่ยวกับ การพัฒนาโปรแกรม Android
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเข้าใจระบบปฏิบัติการ Android
2. เพื่อสามารถติดตั้งเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม
Android
1.1 แนะนำระบบปฏิบัติการAndroid
ระบบปฏิบัติการAndroidได้ถูกนำไปติดตั้งหลายร้อยล้านเครื่องในประเทศ
มากกว่า 190 ประเทศทั่ว โลก ระบบปฏิบัติการAndroidถูกพัฒนาต่อ ยอด จากชุมชนโอเพนซอร์ส ลินุกซ์
และมีการพัฒนาและใช้งานร่วมกับบริษัทหน่วยงาน ที่พัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์
และผู้ให้บริการเครือข่ายอื่นๆ ประมาณ 300 หน่วยงาน
ในขณะที่ผู้ใช้อุปกรณ์Androidสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมมากกว่า 1.5 พัน ล้านโปรแกรมใน Google Play
ขั้น
ตอนที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรมAndroid มีดังนี้
1. การออกแบบโปรแกรม Android
2. การเขียนโค้ด พัฒนาและทดสอบโปรแกรม Android
3. การเผยแพร่โปรแกรม Android
1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม
Android
เครื่องมือที่ใช้พัฒนาโปรแกรม Android มีหลากหลาย แต่ในครั้งนี้เราจะเลือกใช้ App
Inventor ในการพัฒนาโปรแกรม
Android
โดย App
Inventor จะเป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรม Android โดยที่เราไม่จำเป็นที่จะต้องรู้
โค้ดที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ตัวเครื่องมือหรือ App Inventor จะมี Block ที่รวบรวมคำสั่งต่างๆ เอาไว้ เราก็เพียงแค่ลาก
Blockเหล่านั้นมาเชื่อมต่อกัน ตามการทำงานที่เราได้ออกแบบไว้
1.3 เกี่ยวกับ
App Inventor
Google ร่วมมือกับ
MIT พัฒนาโปรแกรม App Inventor ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมบนมือถือ
Android โดยโปรแกรมนี้จะให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต (App
Inventor server) โดยข้อมูลของโปรเจคต่างๆ จากผู้ใช้
จะถูกเก็บไว้ที่เครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการ (Cloud computing)
1.4 ความต้องการขั้นต่ำของระบบ
1) ระบบปฏิบัติการที่สนับสนุน
การพัฒนาโปรแกรม Android ได้แก่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) , แมคโอเอสเอกซ์ (Mac OS X),
และลินุก ซ์ (Linux) โดยทุก
ระบบปฏิบัติการมีความต้องการขั้นต่ำ ดังนี้
•
หน่วยความจำ (RAM) อย่างน้อย 2 GB แต่แนะนำให้เป็น 4 GB
•
พื้นที่ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย
400
MB
•
พื้นที่อย่างน้อย 1
GB สำหรับ ติดตั้ง emulator system, images, and caches
•
ความละเอียดของหน้าจออย่างน้อย
1280
x 800
2) Browser ที่ติดตั้ง JAVA
•
Mozilla Firefox 3.6
or higher ถ้าใช้ NoScript extension ต้องปิดการใช้งานตัวนี้ก่อน
•
Apple Safari 5.0
or higher
•
Google Chrome 4.0
or high
3) โปรแกรม App
Inventor Setup
4) Driver ของโทรศัพท์ Android
5) สาย USB
Connect
6) บัญชีของ Google
1.5 เริ่มต้นใช้งาน
App Inventor
เปิด web browser แล้วเข้าไปที่
http://ai2.appinventor.mit.edu/ หากยังไม่ได้ login
บัญชี google จะพบกับหน้าจอดังภาพ ให้ทำการลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชี
Google ของคุณ
หน้าจอลงชื่อเข้าใช้งาน
หลังจากลงชื่อเข้าใช้แล้วจะได้หน้าจอดังภาพ
ให้กดปุ่ม อนุญาต ด้านล่าง
เข้าสู่หน้าจอต้อนรับ ให้หน้าจอนี้จะมี
link แนะนำการติดตั้ง
Android device และการติดตั้ง Android emulator (ซึ่งจะกล่าวถึงการติดตั้ง และใช้งาน Android emulator ในท้ายบท) ให้กดปุ่ม Continue
เท่านี้ก็พร้อมที่จะเริ่มใช้งานแล้ว
1.6 ส่วนประกอบต่างๆ
ของโปรแกรม App Inventor
1.6.1 หน้าแรกของโปรแกรม จะแสดงโปรเจค ทั้งหมดที่เราได้สร้างไว้
และเราสามารถสร้างโปรเจคใหม่ หรือลบโปรเจคได้ที่หน้าจอนี้
สร้างโปรเจคใหม่โดยการ
กดที่ปุ่ม Start new project จะมีหน้าจอให้ใส่ชื่อโปรเจค
โดยโปรเจคแรกที่เราจะทำจะใช้ชื่อว่า “HelloCat” เสร็จแล้วให้กดปุ่ม
OK
1.6.2 หน้าจอสำหรับสร้างโปรแกรม จะมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
1) เมนูบาร์
2) เมนู
Palette
Layout เครื่องมือเกี่ยวกับการจัดตำแหน่งหน้าจอ
Media เครื่องมือที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อมัลติมีเดีย
Drawing and Animation เครื่องมือเกี่ยวกับการจัดการแอนิเมชัน ภาพเคลื่อนไหว
Sensors เครื่องมือเกี่ยวกับการตรวจสอบเซ็นเซอร์ การเคลื่อนไหวของมือถือ หรือ ตำแหน่ง GPS
Social เครื่องมือเกี่ยวกับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
Storage เครื่องมือเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล
Connectivity เครื่องมือเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ
LEGO เครื่องมือเกี่ยวกับคำสั่ง LEGO
Layout เครื่องมือเกี่ยวกับการจัดตำแหน่งหน้าจอ
Media เครื่องมือที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อมัลติมีเดีย
Drawing and Animation เครื่องมือเกี่ยวกับการจัดการแอนิเมชัน ภาพเคลื่อนไหว
Sensors เครื่องมือเกี่ยวกับการตรวจสอบเซ็นเซอร์ การเคลื่อนไหวของมือถือ หรือ ตำแหน่ง GPS
Social เครื่องมือเกี่ยวกับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
Storage เครื่องมือเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล
Connectivity เครื่องมือเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ
LEGO เครื่องมือเกี่ยวกับคำสั่ง LEGO
3) Property
ส่วนการกำหนดคุณสมบัติของเครื่องมือ ในหน้าจอโปรแกรม
4) Component
ส่วนแสดงองค์ประกอบ หรือเครื่องมือในโปรแกรมว่ามีอะไรบ้าง
5) Media
ส่วนแสดงสื่อทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง
1.6.3 Blocks Editor การเขียนคำสั่งในโปรแกรม App
Inventor จะไม่ได้เขียนโดยการพิมพ์โค้ด แต่จะใช้ Block คำสั่ง ในการทำงาน คลิดที่ปุ่ม Blocks และจะมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
1) หน้าจอ
Blocks
Editor
2) Blocks
ส่วนแสดงสัญลักษณ์ Blocks ต่างๆ
3) Viewer
หน้าจอสำหรับวาง Blocks
1.7 การติดตั้ง
และใช้งาน Android Emulator
หากไม่มีโทรศัพท์
หรือแท็บเล็ต Android คุณสามารถที่จะใช้งาน Android
Emulator แทนได้ โดยมีการทำงานเหมือนกับ โทรศัพท์ Android เพียงแต่จะแสดงอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณแทน โดยมีขั้นตอนในการติดตั้ง
และเรียกใช้งานดังนี้
1.7.1 การติดตั้งโปรแกรม
โหลดตัวติดตั้งโปรแกรมได้จาก http://appinv.us/aisetup_windows ซึ่งจะมีขนาดของไฟล์ ประมาณ 80 MB
1.7.2 เปิดโปรแกรม aiStarter ด้วย icon ดังภาพ
หน้าจอหลังเปิดโปรแกรม
1.8 ทดลองเชื่อมต่อ
โปรเจค กับ Android Emulator
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ผศ. ดร. กานดา สายแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ครูณัฐพล บัวอุไร [www.nattapon.com]
http://kidsangsan.com/
http://ai2.appinventor.mit.edu/
http://appinventor.mit.edu/explore/ai2/setup-emulator
Situs Judi Slot Online Slot Gacor Terpercaya 2020 - LegalBet.co.kr カジノ シークレット カジノ シークレット 메리트카지노 메리트카지노 sbobet ทางเข้า sbobet ทางเข้า 1XBET 1XBET 우리카지노 우리카지노 dafabet dafabet dafabet dafabet bet365 bet365 카지노 카지노 1XBET 1XBET 365 絀토 머니 토 꽁 머니 토 꽁 머니 환전 토 꽁 머니 토 꽁 머니 토 꽁 머니 토 꽁 머 토 꽁 머니 토 꽁 칸에텉경죔
ตอบลบ